วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทยศาสตร์



ขอบคุณที่มา >>  https://writer.dek-d.com/
เรื่องย่อ
เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู มีไหว้พระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ทั้งปวงแล้วก็ไหว้ เทพเจ้าของพราหมณ์ ไหว้หมอชีวกโกมารภัจ (ซึ่งเป็นแพทย์หลวงของพระเจ้า พิมพิสารแห่งแคว้นมคธ และเป็นแพทย์ผู้ถวายการรักษาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ได้รับ การยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนอินเดีย) และไหว้ครูแพทย์ทั่วไป
เมื่อจบบทไหว้ครูแล้ว ก็กล่าวถึงความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติสำคัญที่แพทย์พึงมี ซึ่งเน้นว่านอกจากความรู้ทางวิชาการแล้ว แพทย์ยังต้องมีความรู้ทางธรรมด้วย ต้องมีจรรยาแพทย์ มีจรรยาบรรณในอาชีพของตน เป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม และมอบความรัก ความเสียสละแก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ และไม่หวังสิ่งตอบแทน
แพทย์ควรมีความรู้ ความชำนาญในวิชาการและระวังไม่ให้เข้าลักษณะของแพทย์ที่ไม่ดี คือกล่าวคำมุสา ยกตนเองว่า ดีกว่าผู้อื่น มารยา เขาเจ็บน้อยก็ว่าเจ็บมาก รักษาโรคด้วยความโลภ ไม่ยอมรักษาคนไข้อนาถา ถือว่าตนมีความรู้ความชำนาญกว่าผู้อื่น นอกจากนี้แพทย์ยังควรมีธรรมะโดยรักษาศีลแปดและศีลห้า ยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และหลีกเลี่ยงบาปธรรม 14 ประการ คือ 1) โลภะ 2) มารยา 3) โทสะ 4) โมหะ 5) ความใคร่ (กาเมมิจฉา) 6) ความพยาบาท 7) ความคลางแคลงใจ (วิจิกิจฉา) 8) ความประหม่า (อุทธัจจัง) 9) ความง่วงเหงา 10) ความถือดี (ทิฐิมานะ) 11) ความลังเลใจ (วิตก) 12) ความคิดเบียดเบียน (วิหิงสา) 13) ความไม่กลัวบาป (อโนตัปปัง) และ 14) ความรังเกียจคนไข้อนาถา
 กายนครโดยเปรียบเทียบไว้อย่างคมคายว่า ร่างกายนี้คือ กายนครคือเปรียบเสมือนเป็นเมือง ๆ หนึ่ง มีดวงจิต คือหัวใจเป็นประหนึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเมือง นั้น ๆ และมีแพทย์ เสมือนเป็นทหาร ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันข้าศึก ข้าศึก ก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่มาโจมตีร่างกายของเรา นอกจากทหารแล้วเรามีวังหน้า คือน้ำดีคอยป้องกันข้าศึกมิให้เข้ามา ตีบ้านเมืองได้ มีอาหารเป็นเสมือนหนึ่งกองเสบียงเลี้ยงไพร่พล แพทย์จึงมีหน้าที่รักษาหัวใจ น้ำดี และอาหารไว้มิให้โรคร้ายต่าง ๆ มาจู่โจมร่างกายได้
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ จัดเป็นตำราและเป็นมรดกทางวรรณกรรม เพราะมีเนื้อหาเฉพาะด้านเกี่ยวกับความรู้ที่เป็นตำราแพทย์แผนโบราณที่สมบูรณ์ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งนับเป็นมรดกได้ มีวิธีการนำเสนอด้วยคำอธิบายเป็นส่วนใหญ่ (แต่ก็มีหลายตอนที่ประกอบด้วยวรรณศิลป์ เช่น บทอุปมา กายนคร”) ใช้คำประพันธ์หลายชนิดในการแต่ง อาทิ ร่าย กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 เป็นตำราที่ให้ทั้งความรู้และความจรรโลงใจแก่ผู้อ่าน แพทย์ศาสตร์-สงเคราะห์จึงเป็นมรดกที่มีค่า เรียกว่า เป็นสมบัติของแผ่นดิน เป็นภูมิปัญญาไทยที่ตกทอดมาเป็นตำราที่รักษาไข้ รวมทั้งเป็นตำรายาสมุนไพรซึ่งเป็นภูมิรู้ที่ทรงคุณค่าของคนไทย
เฉพาะในส่วนที่จัดว่าเป็น บทสอนแพทย์ผู้แต่งได้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของแพทย์โดยทั่วไปที่มักจะมีความประมาท ความอวดดี ความริษยา ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความหลงตนเอง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่บรรดาแพทย์เล็งเห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมมีส่วน ช่วยรักษาคนไข้ให้หายไข้ได้เร็วขึ้น ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และที่สำคัญก็คือคนจนก็ได้รับความสนใจไยดีจากแพทย์ ในส่วนแพทย์ด้วยกันเองนั้นเล่า ผู้แต่งก็เตือนสติมิให้ แพทย์สูงอายุผู้มีอาวุโสกว่า หลงตนเองจนลืมไปว่า แพทย์หนุ่มที่มีความสามารถก็มีอยู่ ควรรับฟังแพทย์หนุ่มๆ บ้าง